ครีมกันแดด

 

     ประเทศไทยของเรานี่ร้อนกันทุกวันอยู่แล้ว ยิ่งช่วงฤดูร้อนก็จะร้อนมากขึ้น ครีมกันแดด ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นในทุกๆวันของทุกคน  และครีมกันแดดก็มีจำหน่ายตามร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้ามากมายทุกที รวมถึงยี่ห้อของผลิตภัณฑ์ของครีมกันแดดด้วย วันนี้ Vitamaker มีคำแนะนำดีๆเกี่ยวกับเรื่องครีมกันแดดมาฝากค่ะ ทั้งวิธีการทำงานของเจ้าครีมกันแดด รวมถึงวิธีการเลือกครีมกันที่เหมาะสม ใช้แล้วปัง!! เหมาะกับตัวคุณมาฝาก พร้อมแล้วจะรออะไร มาดูกันเลยค่ะ

     สาวๆ หนุ่มๆ ที่ต้องออกจากบ้านเพื่อทำงาน เที่ยว หรืออะไรก็แล้วแต่ ต่างก็ต้องเจอะเจอกับแสงแดด รังสียูวี ซึ่งส่งผมเสียแก่สภาพผิวของพวกคุณอย่างแน่นอน  ทำให้เกิดผิวหนังไหม้ คล้ำ เกิดกระ ฝ้า หรือรอยเหี่ยวย่น ครีมกันแดดจงมาๆๆๆๆ คุณจึงจำเป็นต้องมีการป้องป้อง เพราะครีมกันแดดจะทำหน้าที่ในการปกป้องผิวจากรังสี UV ด้วยการดูดซับรังสี ป้องกันแสง UV ไม่ให้ผ่านเข้าไปถึงชั้นผิว หรือทำให้รังสี UV แตกกระจายออกไปเพื่อไม่ให้เข้าทำร้ายผิวโดยตรง สำหรับคำแนะนำในการใช้ครีมกันแดด ครีมกันแดดที่ดีที่สุด คือครีมกันแดดที่สามารถที่จะป้องกันแสง UV ได้เพียงพอ สำหรับรังสี UV ก็แบ่งได้เป็น

  • รังสีจาก UV-A จะทำให้ผิวแก่ก่อนวัย หน้าคล้ำได้ ฉะนั้นเวลาไปทะเล แล้วผิวคล้ำเกิดจาก UV-A
  • รังสีจาก UV-B Burning คือผิวไหม้แดด เกรียมแดด อย่างกรณีไปอาบแดด แล้วผิวไหม้ ผิวเกรียม เกิดจาก UV-B

ฉะนั้นจึงต้องมีครีมกันแดดป้องกันทั้ง 2 อย่าง ทั้ง UV-A และ UV-B

 

UVB-UVA

 

 

แล้ว SPF คืออะไร

     SPF ย่อมาจาก Sun Protection Factor โดยค่าของการปกป้องแสงแดด ถูกกำหนดด้วยระบบของ SPF เอง โดยส่วนใหญ่จะคำนวณจากปริมาณจากการป้องกันรังสี UVB ตัวเลขของ SPF บ่งบอกถึงความสามารถในการปกป้องผิวจากการถูกเผาไหม้จากแสงแดด ได้นานเท่าไหร่ เช่น SPF15 หมายถึง ป้องกันผิวจากการไหม้ได้ 15 เท่า เช่น ปกติคุณออกไปสู่แดดโดยไม่ได้ทาครีมกันแดดแล้วผิวไหม้ภายใน 20 นาที ถ้าหากทาครีมกันแดด SPF 15 แล้วจะทำให้การที่ผิวจะถูกแสดงแดดทำลายผิวให้ไหม้นั้น ต้องใช้เวลาเป็น 15 เท่าของ 20 นาที หรือประมาณ 300 นาที หรือ 5 ชั่วโมง ผิวถึงจะถูกไหม้จากแสงแดด โอ้ววว….ใครจะถูกแดดนานขนาดนั้น แต่ๆๆๆ ค่า SPF สูงๆ นั้น ไม่ได้หมายความว่าจะปกป้องแสงแดดได้ดีไปกว่า ค่า SPF ที่ต่ำกว่า นะจ๊ะ

เมื่อดูจากค่า SPF และปริมาณการดูดซับรังสียูวีบี พบว่า

  • ค่า SPF เท่ากับ 2 จะดูดซับ UVB ได้ 50%
  • ค่า SPF เท่ากับ 4 จะดูดซับ UVB ได้ 75%
  • ค่า SPF เท่ากับ 8 จะดูดซับ UVB ได้ 87.5%
  • ค่า SPF เท่ากับ 15 จะดูดซับ UVB ได้ 93.3%
  • ค่า SPF เท่ากับ 20 จะดูดซับ UVB ได้ 95%
  • ค่า SPF เท่ากับ 30 จะดูดซับ UVB ได้ 96.7%
  • ค่า SPF เท่ากับ 45 จะดูดซับ UVB ได้ 97.8%
  • ค่า SPF เท่ากับ 50 จะดูดซับ UVB ได้ 98%

 

     สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาและนักจิจัยได้ให้ข้อมูลว่า อันที่จริงแล้วทั่วไปเราใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดสูงสุดแค่ SPF 30 ก็พอแล้ว เพราะเรื่องการปกป้อง % ก็ไล่เลี่ยกัน หากใช้สูงเกินไปสำหรับคนที่มีผิวแพ้ง่าย จะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง เกิดผดผืดขึ้นได้นะจ๊ะ

แล้ว PA+++ คืออะไร

      ครีมกันแดดบางตัวเรามักเห็นค่านี้กันด้วย มันคือค่าที่วัดการป้องกันรังสี UVA เรียกว่า PA โดย PA ย่อมาจากคำว่า Protection Grade of UVA ในขณะนี้ยังไม่มีหน่วยวัดที่เป็นมาตรฐานในการวัดค่าการดูดซืมของรังสี UVA ดังนั้นจึงถือเอาคำว่า PA เป็นหน่วยวัดรังสี UVA อย่างไม่เป็นทางการ ค่า PA นั้นจะมี 3 ระดับคือ PA+,PA++ และ PA+++

  • PA+ สำหรับผู้ที่ต้องการปกแสงแดด จากกิจกรรมทั่ว ๆ ไป (อาจจะไม่ได้เจอกับแสงมากนัก)
  • PA+++ นั้นสำหรับผู้ที่ต้องการการปกป้องสูง (เจอกับแสงแดดจัด ๆ เป็นเวลานาน)

ดังนั้นสำหรับใครที่จะต้องเจอกับแสงแดดเป็นเวลาหลายชั่วโมง ให้เลือก PA++ หรือ สูงกว่านี้

 

วิธีเลือกซื้อครีมกันแดดล่ะ ?

      อย่างที่กล่าวไปข้างต้น มีครีมกันแดดให้เลือกซื้ออย่างมากมายในท้องตลาด ที่จะช่วยให้คุณปลอดภัยจากรังสี UVA และ UVB โดยเฉพาะถ้าคุณต้องทำงานกลางแจ้งหรือออกไปโดนแดดอยู่เป็นประจำหรือแม้กระทั่งขับรถตอนกลางวันบ่อยๆ พิจารณาถึงประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดด โดยดูจากค่า SPF (sun protection factor) ก็อาจจะต้องผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า SPF สูงหน่อย  SPF มากกว่า 30 และ PA++ ขึ้นไป ก็เพียงพอ หากต้องว่ายน้ำ ทำกิจกรรมกลางแดด ต้องใช้ SPF ที่สูงขึ้นและเลือกประเภทที่กันน้ำได้ (Water Proof หรือ Water Resistance)

     สำหรับคนที่ทำงานในบริษัท ที่อยู่ในห้องกระจกหรือมีหน้าต่างที่ทำให้แสงส่องมาถึงตัวคุณได้ การทา ครีมที่มีส่วนผสมช่วยกันแดด เพราะรู้หรือไม่ว่า? UVA ตัวการร้ายเร่งอายุของผิวพรรณคุณนั้นสามารถทะลุกระจกธรรมดาได้สบายๆ แม้กระทั่งกระจกคุณภาพสูง ราคาแพงลิบ ก็ยังไม่สามารถกันรังสี UVA จากแสงแดดได้ 100% ส่งผลให้เห็นได้ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง  ควรใช้ SPF 15 หรือมากกว่า และ PA++ ก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับสภาพผิวหน้าของเราและภาวะการเจอแดดของแต่ละคน

นึกไม่ออกเราแยกให้ดูง่ายๆ จะได้เลือกง่ายขึ้นนะจ๊ะ

  •  ผิวขาวอมชมพูในคนเอเชีย ผิวชนิดนี้บอบบางมาก เกิดผิวไหม้ได้ไว เกิดผิวสีแทนได้ ควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF ค่อนข้างสูง (SPF 30-45)
  • ผิวขาวเหลืองในคนเอเชีย ผิวชนิดนี้บางแต่ยังมีเมลานินอยู่บ้างจึงสามารถทนต่อแสงแดด การเกิดผิวหนังร้อนแดงได้ช้ากว่าผิว 2 ชนิดแรก ควรเลือกครีมกันแดดชนิดที่มีค่า SPF ปานกลาง (SPF30)
  • ผิวคล้ำ มีเมลานินสูง ผิวสีน้ำตาลไม่เกิดการไหม้ ไม่เกิดสีแทน ใช้ครีมกันแดดที่มี SPF ต่ำ (SPF 15) SPF ค่าสูงป้องกันได้นานกว่า ไม่ใช่ป้องกันได้ดีกว่า

 

 อย่าลืม!!! ทดสอบการแพ้ครีมกันแดดด้วยนะ

          ให้ทาครีมกันแดดบริเวณใต้ท้องแขนทิ้งไว้ 15 นาทีแล้วสังเกตว่ามีอาการบวม แดงหรือไม่ ถ้าปรากฏอาการดังกล่าวแสดงว่าแพ้สารเคมีชนิดหนึ่ง อย่างไรก็ตามคนบางประเภท (delay sensitivity) จะใช้เวลานานกว่าจะปรากฏอาการแพ้ ดังนั้นจึงควรรอดูอาการถึง 24 ชั่วโมง หรือ 72 ชั่วโมง จึงจะสรุปได้ว่าไม่มีอาการแพ้จริงๆ แต่..ใครเขาจะเลือกชื้อยืนรอดูอาการนานขนาดนั้น เอาแบบง่ายทาทิ้งไว้สัก 2-5 นาที เดินเลือกซื้อสินค้าอื่นๆไปก่อนก็ได้ เพราะส่วนใหญ่แล้วถ้าคนแพ้มักจะออกฤทธิ์ 5 – 10 เร็วอยู่นะ แต่บางท่านอาจนานถึง 30 นาที หรือนานกว่า เอาเป็นว่าอาจหาตัวช่วยลองหารีวิวการใช้งานจากเว็บไซต์ต่างๆดูก็ได้น๊า มีเยอะแยะเลย

          ครีมกันแดดที่กันน้ำได้ เลือกที่มีส่วนผสมของ Silicone หรือระบุในฉลากว่ากันน้ำได้ มีวิธีการทดสอบด้วยตนเองโดยทาครีมให้ทั่วแขนแล้วจุ่มแขนลงน้ำแล้วยกแขนขึ้นมา น้ำจะไหลลงจากแขนไปหมด โดยไม่มีน้ำเกาะติดกับผิวเหมือนที่ไม่ได้ทาครีมกันแดด

 

วิธีการใช้ที่ถูกต้องและเห็นผลปัง!! ที่สุด

     ควรทาครีมกันแดดให้หนาเพียงพอ 15 นาที ก่อนอยู่กลางแดด และอาจทาซ้ำทุก 15 นาที หลังจากทาครั้งแรก หรือทุก 1-2 ชม. ถ้าว่ายน้ำ หรืออยู่กลางแดดจัด เนื่องจากการทาครีมกันแดดซ้ำ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการกันแดด ได้อีก 2-3 เท่า เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ มักทาครีมกันแดดในปริมาณน้อยกว่าที่ควร ควรจะใช้ครีมแดดปริมาณประมาณเท่ากับ 1/4 ช้อนชาในการทากันแดดบนใบหน้า (โห!!…โบกเกือบเท่ารองพื้นเลยนะเนี้ย!!)

     สำหรับการใช้ครีมกันแดด ประจำวัน ในผู้ที่ทำงานในร่ม และใช้เวลานอกอาคาร หรือรถยนต์ เฉพาะช่วงเช้า ก่อน 9 นาฬิกา และหลังจาก 15 นาฬิกา อาจไม่มีความจำเป็น เนื่องจากแสง UVB, UVA สามารถผ่านกระจกรถ ที่ติดฟิล์มกรองแสง ได้น้อยกว่า 5% และแสง UV ในช่วงเวลาเช้าตรู่ และเย็น มีปริมาณน้อย ที่อยู่ในห้องกระจกหรือมีหน้าต่างที่ทำให้แสงส่องมาถึงตัวคุณได้ อาจทาครีมกันแดดทุก 1-2 ชม. 

 

ครีมกันแดด ไม่ใช่ One Stop Service ในการปกป้องคุณจากแสงแดด

     คำแนะนำอีกอย่างนะค่ะ ทาครีมกันแดดแล้วก็ต้องเลี่ยงแดดด้วยนะจ๊ะคุณขา หากออกกลางแดด ก็พกแว่น ใส่หมวก หรือเสื้อคุมบางๆ ไปด้วยก็ดีน๊า เนื่องจากครีมกันแดดไม่ได้กันได้ 100 % นะค่ะ

 

 

 

บริษัท ไวต้าเมคเกอร์ จำกัด
สอบถามข้อมูลหรือปรึกษาการผลิตเครื่องสำอางค์ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
91/3 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510
โทร. 02-107-1606
แฟกซ์. 02-107-0110
E-mail : info@vitamaker.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *